สนาม: ฮั่นเน็ต
บทนำ: ประชาชนสนใจข่าวโกงอาหารกลางวันเด็กมากสุด ไม่เชื่อรัฐบาลแก้ทุจริตได้ มทตั้ง คกกขับเคลื่อนสางปัญหาใน 7 วัน ดันนักโภชนาการตำบลละ 1คน เด้ง ผอรรอนุบาลขอนแก่น เซ่นข้าวมันวิญญาณไก่ คสชหนุน ปปทสอบสร้างฝายชะลอน้ำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ข่าวการทุจริต จำนวนทั้งสิ้น 1,122 คน ระหว่างวันที่ 12-16 มิย2561 เนื่องจากข่าวการทุจริตในช่วงนี้มีหลายคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ทั้งการทุจริตในแวดวงราชการ หรือวงการสงฆ์ ต่างชี้ให้เห็นถึงปัญหาสำคัญที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมานาน และยังคงมีให้เห็นอยู่เสมอ สรุปผลได้ดังนี้ 1 5 อันดับ ข่าวการทุจริตที่ประชาชนสนใจมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 4203 ระบุอาหารกลางวันเด็กนักเรียน, อันดับ 2 ร้อยละ 4000 เงินทอนวัด, อันดับ 3 ร้อยละ 3700 เงินคนจน เบี้ยผู้สูงอายุ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง, อันดับ 4 ร้อยละ 2106 การใช้งบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล งบโครงการต่างๆ และอันดับ 5 ร้อยละ 2068 การทุจริตต่างๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ เช่น คุรุภัณฑ์ นมโรงเรียน กองทุนเสมา 2ประชาชนคิดว่า สาเหตุการทุจริต คือ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 6835 ระบุกิเลส โลภ ละโมบ ความเห็นแก่ตัว, อันดับ 2 ร้อยละ 2842 ระบบการตรวจสอบมีช่องโหว่ ไม่รัดกุม เจ้าหน้าที่รู้เห็นเป็นใจ, อันดับ 3 ร้อยละ 1930 ไม่เกรงกลัวกฎหมาย บทลงโทษไม่รุนแรง, อันดับ 4 ร้อยละ 1711 สังคมเปลี่ยนแปลง มีสิ่งยั่วยุมากขึ้น ค่านิยมผิดๆ, อันดับ 5 ร้อยละ 1483 เงินเดือนน้อย เศรษฐกิจไม่ดี เงินไม่พอใช้ 3ประชาชนคิดว่าควรจะมี วิธีการป้องกันการทุจริต คือ พบว่าอันดับ 1 ร้อยละ 4579 ระบุปลูกฝังค่านิยม เน้นความซื่อสัตย์ จิตสำนึกที่ดี จะช่วยป้องกันการทุจริตได้, อันดับ 2 ร้อยละ 3881 กฎหมายต้องใช้ได้จริง ไม่สองมาตรฐาน บทลงโทษรุนแรงสามารถป้องกันได้, อันดับ 3 ร้อยละ 3121 มีมาตรการป้องกันและระบบการตรวจสอบที่รัดกุม, อันดับ 4 ร้อยละ 2177 ทุกคนทุกฝ่ายต้องช่วยกัน สอดส่องดูแล เป็นหูเป็นตา และอันดับ 5 ร้อยละ 1324 นักการเมือง ข้าราชการ ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก 4ประชาชนคิดว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาทุจริตในปัจจุบันได้หรือไม่ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 4750 ระบุแก้ไขไม่ได้ เพราะการทุจริตเกิดขึ้นมานาน และมีอยู่ทุกวงการ แก้ไขได้ยาก สังคมเสื่อมโทรม คนมีค่านิยมในทางที่ผิด มีตัวอย่างที่ไม่ดีให้เห็น ผู้มีอำนาจมีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง ดำเนินคดีได้ยาก ฯลฯ, อันดับ 2 ร้อยละ 3254 ไม่แน่ใจ เพราะปัญหาการทุจริตมีทุกที่ มีทั้งที่แก้ไขได้และไม่ได้ อาจดูแลไม่ทั่วถึง ต้องใช้เวลานาน รอติดตามการทำงานต่อไป ฯลฯ, อันดับ 3 ร้อยละ 1996 แก้ไขได้ เพราะรัฐบาลมีอำนาจเด็ดขาด หากตั้งใจจริงก็สามารถทำได้ ที่ผ่านมามีผลงานการปราบปรามการทุจริตให้เห็น ถ้ามีมาตรการเด็ดขาดกวาดล้างอย่างจริงจัง น่าจะทำให้การทุจริตลดลงได้ ฯลฯ 5ประชาชนได้ บทเรียน อะไร? จากข่าวทุจริต ณ วันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 5187 ระบุเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย ฝังรากลึก แก้ไขได้ยาก, อันดับ 2 ร้อยละ 3338 การบังคับใช้กฎหมายยังอ่อนแอ ไม่รุนแรง, อันดับ 3 ร้อยละ 2707 การทุจริตเกิดขึ้นได้ทุกวงการ ทุกฝ่ายต้องหันมาช่วยกันแก้ไข, อันดับ 4 ร้อยละ 2053 ทำให้ภาพลักษณ์วงการราชการเสื่อมเสีย ถดถอย และอันดับ 5 ร้อยละ 1787 คนขาดคุณธรรมจริยธรรม ต้องเร่งสร้างจิตสำนึกตั้งกกแก้อาหารกลางวัน ที่โรงแรมอเล็กซานเดอร์ กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น(สถ) กระทรวงมหาดไทย กล่าวในงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง การบริหารจัดการอาหารกลางวันนักเรียนให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีบุคลากรทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) กว่า 400 คนเข้ารับฟังว่า การกินอาหารไม่ดีทำให้เซลล์สมองของเด็กไม่เจริญเติบโต โดยเฉพาะช่วงวัย 0-5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญของชีวิต จึงอยากให้ทุกโรงเรียนของ อปท หรือโรงเรียนในสังกัดกระทรวงของศึกษาธิการ เข้ามาเป็นสมาชิกของไทยสคูลลันช์ ซึ่งเป็นโปรแกรมใช้จัดสำรับอาหารกลางวันในการช่วยอำนวยความสะดวกให้โรงเรียน วางแผนและบริหารจัดการงบประมาณค่าอาหารกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง อปทจำเป็นที่จะต้องหานักโภชนาการมาประจำแต่ละจังหวัด เช่น อำเภอละ 1 คน อย่างไรก็ตาม ภายหลังเกิดเรื่อง ทางกรมได้ตั้งคณะกรรมการไปสุ่มตรวจการจัดซื้ออาหารของโรงเรียนเด็กว่ามีคุณภาพหรือไม่ ขณะที่เรื่องงบประมาณยืนยันไม่มีความล่าช้า หากในพื้นที่ทำตามกฎวางกติกาไว้ล่วงหน้าจะดำเนินสำเร็จโดยเร็ว ซึ่งเรื่องขนมจีนคลุกน้ำปลาถือเป็นคุณูปการของสังคมไทย โดยจะไม่เป็นเพียงไฟไหม้ฟาง ทางกรมตระหนักดีว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็ก ถูกผู้ใหญ่โกง เป็นเรื่องที่รอช้าไม่ได้ จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม แนะนำรายการอาหาร ช่วยทำอาหาร เข้าไปกำกับดูแลตรวจสอบลูกหลานในทุกโรงเรียนว่าอาหารที่ได้รับมีความถูกต้องตามรายการอาหารหรือไม่ เตรียมแนวทางการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนคุณภาพอาหารกลางวันเพื่อโภชนาการของเด็กนักเรียน เพื่อติดตามการดำเนินการของทุกโรงเรียนไปใช้ระบบไทยสคูลลันช์ (Thai School Lunch) จะวัดได้ว่ารายการอาหารมีสารอาหารครบ มีปริมาณและจำนวนที่เป็นรูปธรรม โดยคณะทำงานติดตามก็จะเข้าไปเยี่ยมเด็กนักเรียน มีนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด และการมีส่วนร่วมชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการศึกษา เพื่อจะช่วยให้เกิดสิ่งที่ดีงามกับเด็กได้มากกว่าที่ผ่านมา โดยจะจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนให้แล้วเสร็จใน 7 วัน นายสุทธิพงษ์ ระบุ นายสง่า ดามาพงษ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ขอบคุณสังคมไทยที่ปลุกเรื่องขนมจีนคลุกน้ำปลาขึ้นมา ซึ่งสอนให้เรารู้ว่าการโภชนาการสำคัญต่อเด็ก และรู้ว่าคนพวกนั้นได้สร้างบาปต่อเด็ก ตราบใดปล่อยให้เด็กไทยพร่องสารอาหาร จะทำให้เด็กเตี้ย แคระแกร็น เจ็บป่วยบ่อย ด้อยสติปัญญา ส่งผลทำให้ประเทศได้คนที่ด้อยคุณภาพ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่เราจะนิ่งเฉยต่อไปไม่ได้ ทั้งนี้ หากจะทำให้อาหารกลางวันมีคุณภาพ ต้องทำดังนี้ 1ต้องเร่งรัดนำไทยสคูลลันช์มาใช้ทั่วประเทศ เพื่อให้ตรงกับนโยบาย 40 2การพัฒนาครูและแม่ครัวที่ต้องทำอย่างจริงจัง 3จัดระบบควบคุมกำกับและติดตามไปยังจังหวัดต่างๆ 4เร่งรัดลงทุนให้เกิดนักโภชนาการในพื้นที่ 5ปรับกฎเกณฑ์ระเบียบที่มนุษย์สร้างมาแล้วมาครอบให้เด็กได้รับอาหารไม่มีคุณภาพ 6เปิดโอกาสให้ครอบครัวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมควบคุมอาหารกลางวัน มีนักโภชนาการท้องถิ่นหรือนักจัดการอาหารและโภชนาการชุมชน 1 คนต่อ 1 ตำบล ดูแลโรงเรียนในสพฐจำนวน 5 โรงเรียน ดูแลศูนย์เด็กเล็กในสังกัด อปทอีก 5 โรงเรียน หรือมีครูโภชนาโรงเรียนละ 1 คน ดรอุไรพร จิตต์แจ้ง นักวิชาการด้านโภชนาการชุมชน สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สิ่งที่ต้องแก้ไขคือคุณภาพอาหารต้องปรับปรุง และทำอย่างไรให้ครูรู้คุณค่าอาหารและปรับปรุงได้ ทั้งนี้ เมื่อใช้โปรแกรมสคูลลันช์แล้ว ต้องมีการตรวจสอบว่าโปรแกรมไปถึงโรงครัวจริงหรือไม่ ปริมาณอาหารที่ผลิตออกมาน้อยไปหรือมากเกินไปหรือไม่ อาหารที่ซื้อมาตรงตามที่ระบุไว้หรือไม่ ดรสุปียา เจริญศิริวัฒน์ นักวิจัยศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า อยู่ระหว่างการพัฒนาโปรแกรม Thai School Lunch ให้ใช้ง่าย และสามารถออนไลน์เข้าไปในทุกเครื่อง ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเชื่อว่าในสัปดาห์หน้าโรงเรียนกว่า 19,000 แห่งจะได้ใช้ระบบนี้ และจะปรับระบบให้หน่วยงานในสังกัดสามารถติดตามการจัดการอาหารของโรงเรียนตามโปรแกรมได้ ซึ่งหากพัฒนาโปรแกรม Thai School Lunch ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เอาเทคโนโลยี AI มาแทนนักโภชนาการ จัดเมนูอาหารได้ไม่ซ้ำกัน จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้เด้ง ผออนุบาลขอนแก่น ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 (สพปขอนแก่น เขต 1) นายภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้อำนวยการ สพปขอนแก่น เขต 1 ได้ลงนามในคำสั่งให้นายอภิชาติ นาเลาห์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น ให้มาช่วยราชการที่ สพปขอนแก่น เขต 1 ตั้งแต่วันที่ 17 มิย เป็นต้นไป พร้อมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น หลังมีผู้แทนผู้ปกครองเข้าร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรมขอนแก่น ว่าโรงเรียนอนุบาลขอนแก่นมีการดำเนินโครงการอาหารกลางวันที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่ถูกหลักสุขอนามัย โดยคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จที่ สพปขอนแก่น เขต 1 แต่งตั้งขึ้น จะต้องสืบสวนข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน ด้านนายอภิชาติ ได้เชิญผู้แทนผู้ปกครองเข้าพบ เพื่อทำความเข้าใจถึงเรื่องดังกล่าว พร้อมกับกล่าวขอโทษผู้ปกครอง และรับปากว่าต่อไปคณะครูจะดูแลและตรวจสอบเรื่องอาหารที่ผู้ประกอบการนำมาส่งให้ดีขึ้นกว่านี้ จะไม่ปล่อยปละละเลยเหมือนที่ผ่านมา เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และตามหลักโภชนาการ อย่างไรก็ตาม ในการประมูลการจัดทำอาหารกลางวันของโรงเรียนที่ผ่านมานั้น ได้ทำการประมูลอย่างโปร่งใส โดยประกวดราคาทางอีบิดดิง (E-BIDDING) โดยที่โรงเรียนไม่เคยรู้จักผู้ที่เข้ารับการประมูลมาก่อน ทุกอย่างมีขั้นตอนการพิจารณาในการเลือกผู้ประกอบการใน 3 เรื่องคือ ราคา คุณภาพ และถูกหลักสุขอนามัย เมื่อได้ผู้ประกอบการแล้วโรงเรียนจะเดินทางไปดูที่ร้านของผู้ประกอบการอีกครั้ง เพื่อดูอาหารที่ทางร้านทำจริง จึงจะตกลงรับให้ทำอาหารกลางวันของโรงเรียนได้ ขณะที่นายดนุพล ชุมชนสัมพันธ์ ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป1 ในฐานะผู้แทนผู้ปกครอง กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่ติดใจที่จะเอาเรื่องกับคณะครูหรือโรงเรียน แต่การที่ผู้ปกครองส่วนมากเข้าร้องเรียนครั้งนี้ เพราะต้องการให้ผู้ประกอบการมารับผิดชอบในเรื่องของอาหารกลางวันให้ดีกว่านี้ ทั้งที่ได้รับการจัดสรรค่าอาหารในสัดส่วนที่เท่ากัน และเป็นไปตามระเบียบ แต่สิ่งที่เด็กๆ ได้รับประทานนั้นไม่ถูกต้อง และเป็นไปตามหลักฐานที่เข้าร้องเรียน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน วันเดียวกัน พอหญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) เปิดเผยว่า คสชให้ความสำคัญกับการป้องกันและปรามทุจริตประพฤติมิชอบในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการสนับสนุนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท) ซึ่งความร่วมมือล่าสุด คือการร่วมกันขับเคลื่อน โครงการประสานพลังเฝ้าระวังการทุจริต ของ ปปท ซึ่ง พลอเฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการ คสช มอบหมายให้กองทัพบก โดยกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกลรส) ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ให้การสนับสนุน ปปท ในการขับเคลื่อนและตรวจสอบกิจกรรม การสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน จำนวน 1,097 แห่ง ในพื้นที่ 45 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างเต็มที่ โดยจะมีการจัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันในวันจันทร์ที่ 28 มิยนี้ เวลา 0930 น ที่สำนักงาน ปปท ...
สนาม: สายด่วนปักกิ่ง 010
บทนำ:อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของทีวีดิจิตอลในครึ่งปีหลังนี้ ยังคงมีการแข่งขันกันรุนแรง ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาก็ยังอยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจากเศรษฐกิจยังไม่กลับมาฟื้นตัวตามปกติ ดังนั้น จึงอยากจะให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น เพราะนอกจากผู้ประกอบการจะต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจแล้ว ยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พร้อมจะเข้ามา Disruption ธุรกิจทีวีอีก
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-04-23